เครื่องมือไลฟ์สไตล์

วิธีทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร ที่มนุษย์คอนโดก็ทำได้ง่ายๆ ไม่ง้อสวนหลังบ้าน 

“ปุ๋ย” เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ต้นไม้ และพืชผักเจริญเติบโต โดยเฉพาะผักสวนครัวที่เราปลูกไว้กินเอง จะยิ่งงอกงาม และมีความปลอดภัยสูง ทั้งต่อสมาชิกในบ้าน สัตว์เลี้ยง และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หากเราใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยหมักที่ไร้สารเคมี! 

การทำปุ๋ยหมัก นอกจากจะเป็นการสร้างอาหารบำรุงดินและต้นไม้แล้ว ยังมีต้นทุนในการผลิตที่แสนถูก และประหยัด สามารถหาได้ภายในบริเวณบ้านของเราเอง ซึ่งวัตถุดิบส่วนใหญ่ ฟรี! เพราะเป็นการนําเศษอาหารมาทําปุ๋ย ซึ่งหาได้จากในครัว หรือแม้แต่ขยะอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ทุกชนิด ให้กลายเป็นปุ๋ยที่มีสารอาหารครบถ้วน แถมยังเป็นการลดปริมาณขยะในบ้านได้อีกด้วย 

การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร และขยะอินทรีย์ต่าง ๆ มีส่วนประกอบ 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 

1.เศษอาหาร และ วัสดุอินทรีย์ต่างๆ ที่ย่อยสลายได้ เช่น เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตวฺ์ ก้างปลา ฟางข้าวโพด ใบไม้ หรือแม้แต่เศษอาหารที่กินเหลือในแต่ละมื้อ เป็นต้น 

2.เชื้อจุลินทรีย์ ที่มีทั้งในมูลสัตว์ เช่น มูลวัว มูลสุกร หรือมูลไก่ และเชื้อจุลินทรีย์ที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้ทั่วไป โดยเจ้าเชื้อจุลินทรีย์ จะช่วยให้การย่อยสลายเศษอาหาร กลายเป็นปุ๋ยได้เร็วขึ้น และไม่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นเน่า แต่จะมีกลิ่นคล้ายกลิ่นดินในหน้าฝนแทน 

3.เศษใบไม้ เพราะใบไม้มีธาตุคาร์บอนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ และยังช่วยให้ปุ๋ยหมักมีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นจนเกินไป 

วิธีหมักปุ๋ยจากเศษอาหาร

คุณสามารถทําปุ๋ยจากเศษอาหารในครัวเรือนได้ โดยสามารถ D I Y ถังหมักเศษอาหารทําเอง ซึ่งมีขั้นตอนต่อไปนี้ 

1.เตรียมถังหมักพร้อมฝาปิดมิดชิด เจาะรูรอบถังเพื่อระบายอากาศ โดยใช้ตาข่ายป้องกันแมลงพันปิดรูให้รอบถัง เพื่อป้องกันแมลงเข้าไปวางไข่ (หากบ้านไหนมีสมาชิกหลายคน ขยะอาหารมาก อาจต้องใช้ถังมากกว่า 1 ใบ เพื่อสลับในการเททิ้งเศษอาหาร) 

2.ใส่ขยะเศษอาหาร เชื้อจุลินทรีย์ และเศษใบไม้ ในอัตราส่วนเท่าๆกัน ลงไปถังหมัก จากนั้นใช้ไม้คน เพื่อทำการคลุกเคล้าให้ทั่ว จากนั้นปิดฝาให้มิดชิด ในช่วงแรกๆ ยังไม่ต้องเติมน้ำลงไป เพราะในเศษอาหารมีน้ำและความชื้นสูงอยู่แล้ว เมื่อจะเททิ้งเศษอาหารลงไปในถังอีกในวันถัดไป ให้เติมจุลินทรีย์และเศษใบไม้ลงไปในถัง ในอัตราส่วนเท่าเดิม และเติมใหม่ทุกครั้งที่มีการเทเศษอาหารลงไปใหม่ และอาจเติมน้ำตาลทราย ประมาณ 1-2 ช้อนโต๊ะ ลงไปด้วย เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ 

3.ในช่วง 5 -10 วันแรก อาจมีความร้อนเกิดขึ้น เพราะจุลินทรีย์จะคายความร้อน เพื่อทำการย่อยสลายเศษอาหาร หากพบว่าความชื้นลดลงไปจนเกือบแห้ง ให้พรมน้ำลงไป แล้วปิดฝา ปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 วัน 

4.เมื่อครบ 30 วัน ลองเปิดฝาถังดู หากปุ๋ยที่ได้มีขนาดเล็กลง น้ำหนักเบา เปื่อยยุ่ย สีดำคล้ำ และไม่มีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นลักษณะของปุ๋ยหมัก ก็สามารถนำไปใช้ได้เลย แต่ถ้าปุ๋ยยังคงมีความชื้นอยู่ ควรปล่อยให้แห้งสนิทก่อน เพื่อให้จุลินทรีย์หยุดการย่อยสลาย 

วิธีใช้ปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร

ปุ๋ยหมักที่ได้ สามารถนำไปบำรุงต้นไม้ หรือพืชผักได้เลย โดยการโรยรอบโคนต้น 1 ครั้ง / 2 สัปดาห์ หรือจะใช้เป็นการเติมสารอาหารให้กับดินเก่า ที่เคยใช้ปลูกต้นไม้ไปแล้วก็ได้ 

กล่าวได้ว่าการหมักปุ๋ย นอกจากจะช่วยให้เราได้ปุ๋ยไปบำรุงพืชผัก ยังเป็นวิธีที่ช่วยกำจัดขยะเศษอาหาร ทำให้ลดปริมาณขยะภายในบ้าน และสามารถแยกประเภทขยะอื่นๆ เพื่อนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ และที่อยู่อาศัยของคนยุคปัจจุบัน ที่มีทั้งในรูปแบบหมู่บ้านจัดสรร บ้านแฝด ตึกพาณิชย์ และห้องเช่า โดยเฉพาะการอาศัยอยู่ในเมือง ที่ส่วนใหญ่จะเป็นมนุษย์ตึก อย่างอพาร์ทเม้นท์ และคอนโด ดังนั้นการจะทำปุ๋ยหมักแบบดั้งเดิมนั้น ค่อนข้างจะทำได้ยาก เพราะมีความจำกัดของเรื่องพื้นที่ เนื่องจากการทำถังหมักปุ๋ย จะต้องใช้บริเวณและพื้นดิน มีขั้นตอนซับซ้อน ใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน รวมไปถึงกลิ่นไม่พึงประสงค์ ที่อาจเล็ดลอดไปรบกวนบ้านใกล้เรือนเคียง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับเพื่อนบ้านได้ 

เคยเสิร์ชหาข้อมูลแล้วไปเจอ กล่องหมักปุ๋ย ที่เขาทำสำเร็จขาย ดูอุปกรณ์แล้ว ก็น่าเหมาะสมต่อพื้นที่อันจำกัดในห้องเช่าทุกประเภท  แต่รู้สึกว่ามันยังไม่ตอบโจทย์วิถีชีวิตที่เร่งรีบแบบคนในเมืองได้มากพอ เพราะกล่องหมักปุ๋ยที่ว่านี้ หลักวิธีการคล้ายถังหมักปุ๋ย แต่เป็นขนาดย่อส่วน ที่ไม่ต้องใช้ดินช่วยในการฝังกลบ เป็นกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยม ที่มักใส่อุปกรณ์ช่าง หรือที่เรานำมาใส่ของทั่วไป นำมา D I Y มีการติดตั้งท่อพีวีซี เพื่อให้อากาศเข้าไปทำปฏิกิริยา สำหรับการย่อยสลายของสารอินทรีย์ ระหว่างกระบวนการหมักปุ๋ยจากขยะเศษอาหารในบ้านของเราเอง 

ขนาดของกล่องมีความว่าเหมาะสม ต่อการวางนอกระเบียง เพราะในระหว่างกระบวนการย่อยสลาย จะมีแบคทีเรีย เชื้อรา และหนอน ภายในกล่องปุ๋ยหมัก และคงไม่ดีแน่ ถ้าจะไว้ในห้อง ทั้งกลิ่น และเชื้อโรค ที่สามารถเล็ดลอด และลอยฟุ้งออกมาได้ เมื่อเวลาเปิดฝาถัง ขณะเทเศษอาหารลงไป อีกทั้งยังต้องคอยเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ และน้ำตาลลงไปทุกครั้งที่เทเศษอาหารลงถัง เพื่อให้ทำการย่อยสลาย เป็นวัสดุที่สิ้นเปลือง อีกทั้งระยะเวลาในการหมักปุ๋ย ประมาณ 30 วัน นานพอ ๆ กับ การหมักปุ๋ยแบบดั้งเดิม 

เมื่อกล่องหมักปุ๋ยสำเร็จรูป ยังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทุกข้อ ก็ต้องหาเครื่องมืออื่นต่อไป จนกระทั่งได้เจอกับ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเครื่องหนึ่ง ที่ต้องยอมรับว่า มันมีคำตอบให้กับโจทย์ที่เรามี และข้อจำกัดที่วิถีชีวิตคนในเมืองอย่างเรามี ได้ถูกกำจัดออกไปได้มากเลยทีเดียว นวัตกรรมที่ว่านี้ก็คือ เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า ที่มีขนาดเล็กกระทัดรัด ที่จะยกวางมุมไหนของห้องก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ริมระเบียง ในมุมครัว หรือใกล้ซิงค์ล้างจาน โดยไม่ต้องห่วงเรื่องกลิ่น หรือเชื้อโรค รบกวนการใช้ชีวิต แม้จะวางเครื่องหมักที่ว่านี้ไว้ในห้องก็ตาม และยิ่งไปกว่านั้น เจ้าเครื่องนี้ยังหนักเพียงแค่ 18 กิโลกรัม ที่ต่อให้คุณเป็นผู้หญิงอาศัยอยู่คนเดียว ก็จัดการเคลื่อนย้ายด้วยตัวเองได้อย่างสบาย ๆ 

เครื่องทำปุ๋ยหมักที่ว่านี้ เป็นการหมักปุ๋ยแบบใช้ระบบไฟฟ้า จึงมีการทำงานหมุนรอบอัตโนมัติ โดยที่เราไม่ต้องคอยไปสนใจ หรือไปยุ่งวุ่นวายกับการทำงานของเครื่อง เปรียบง่าย ๆ ก็เหมือนกับตู้เย็น ที่เพียงแค่เสียบปลั๊กทิ้งไว้ แล้วปล่อยให้เครื่องทำงานของมันเอง เราเพียงแค่เปิดตู้เย็น เพื่อนำอาหารใส่เข้าไป หรือนำอาหารออกมาเมื่อต้องการ เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าก็เช่นกัน เพียงแค่ติดตั้งระบบเครื่อง และเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ ทีมีมาให้พร้อมเครื่อง สำหรับการใช้งานครั้งแรกเท่านั้น จากนั้นก็สามารถเทขยะเศษอาหารลงไปได้ทุกเมื่อที่ต้องการ 

โดยการระบบการทำงานของเครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า จะมีความละม้ายคล้ายคลึงกับกระเพาะอาหารของคน ที่จะทำการย่อยอาหารได้ตลอดเวลา โดยมีจุลินทรีย์เป็นตัวเดินเรื่อง เพราะเศษอาหารต่าง ๆ เป็นอาหารชั้นดี ช่วยให้พวกมันได้เติบโต และขยายแพร่พันธุ์ เรียกได้ว่า เป็นการกำจัดเศษอาหาร และขยะอินทรีย์ จากการย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์นั่นเอง เศษอาหารที่เราเทลงไปในแต่ละครั้ง เป็นส่วนหนึ่งในการขยายและเพิ่มจำนวนจุลินทรีย์ ทำให้มันมีการเติบโตหมุนเวียนภายในเครื่อง จึงไม่จำเป็นต้องคอยเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ลงเครื่องบ่อยๆ จึงไม่ต้องซื้อหลายครั้ง นับว่าเป็นการประหยัดได้ดีทีเดียว และเวลาที่จะเทเศษอาหารลงเครื่อง ไม่ต้องกังวลเรื่องกลิ่นเหม็นเน่าโชยออกมา เพราะเศษอาหารที่ถูกย่อยสลาย จะกลายเป็นสสาร ที่มีลักษณะคล้ายดินแห้ง ๆ ไร้กลิ่น  สะอาด สามารถจับได้มือเปล่า เหมือนดินร่วนแห้ง ๆ ที่เราใช้ปลูกต้นไม้ทั่วไป ภายใน 24 ชั่วโมงเท่านั้น! เป็นการทำปุ๋ยหมักที่รวดเร็วกว่าการหมักปุ๋ยแบบดั้งเดิมหลายเท่า!! 

ด้วยที่เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า สามารถย่อยเศษอาหารให้เป็นปุ๋ยได้เร็วไม่เกิน 48 ชั่วโมง ทำให้แอบกังวลว่า ค่าไฟต้องแพงแน่ ๆ  เพราะเครื่องทำงานเร็วมาก และยังต้องเสียบปลั๊กตลอดเวลา แต่ปรากฏว่า ไม่เลย! ค่าไฟที่ต้องจ่าย มันน้อยกว่าที่คาดไว้ อยู่ในเรท 1xx – 2xx ต้น ๆ เท่านั้น เนื่องจาก เครื่องหมักปุ๋ยแบบใช้ไฟฟ้านี้ มีมอเตอร์ทำงานแบบรอบหมุนต่ำ ทำให้ประหยัดไฟ ถ้านึกไม่ออก ก็เหมือนตู้เย็น เบอร์ 5 ที่เรา ๆ เสียบปลั๊กใช้กันตลอดปีนั่นเอง และเมื่อเทียบกับความสะดวกที่ได้ ทั้งกำจัดขยะเศษอาหารในบ้าน ไม่ต้องค้างสะสม เชิญชวน มด หนู แมลงสาบ มาเดินแฟชั่นในบ้าน เสี่ยงต่อเชื้อโรคที่มาพร้อมกับพวกมัน และยังได้ปุ๋ยหมักที่มีสารอาหารจำเป็นต่อดินและพืชผักต่าง ๆ ได้ผักออแกนิค ดีต่อสุขภาพ ไม่ต้องพึ่งปุ๋ยเคมี ขยะเศษอาหารถูกกำจัด ทำให้เหลือขยะอื่น ๆ ที่สามารถแยกและนำไปรีไซเคิลได้ง่ายขึ้น อย่างเช่น ถุงพลาสติก ขวดน้ำพลาสติก เป็นต้น และจำนวนการใช้ถุงขยะก็ลดลง เพราะปริมาณขยะลดลง ประหยัดเงินในการซื้อถุงขยะอีกแล้ว ต้องกล่าวว่า ว้าว! ว้าว! ว้าว! กันเลยล่ะ

นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบรับ และสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์คนยุคปัจจุบันได้อย่างดี เพราะต่อให้การดำเนินชีวิตในรูปแบบที่ไม่มีพื้นดิน และการอาศัยในพื้นที่มีจำกัด แต่ก็สามารถทำปุ๋ยใช้เองได้อย่างง่ายดาย และรวดเร็ว ไม่ต้องยุ่งยาก ในขณะที่เพิ่มความสะดวกสบายให้กับชีวิต รวมไปถึงได้สุขภาพที่ดี เพราะผักออแกนิค ที่มีปุ๋ยจากในบ้านเราเองเป็นสารอาหารแทนเคมี เรายังมีส่วนร่วมในการช่วยสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นทุกครั้งที่ใช้เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้า เพราะเครื่องหมักปุ๋ยไม่มีการปล่อยก๊าซมีเทน ที่เป็นส่วนประกอบของสภาวะเรือนกระจก ซึ่งต่างจากการย่อยสลายทางธรรมชาตินั่นเอง อ้อ ลืมบอกไปว่า เครื่องหมักปุ๋ยไฟฟ้าที่ว่านี้ มีหลายแบรนด์ที่ผลิตออกมา และมีรุ่นและประเภทด้วยนะ แต่ถ้าใครต้องการศึกษาข้อมูล และรายละเอียดของ เครื่องหมักปุ๋ย

ที่เราหามาแชร์ในบทความนี้ กดที่ลิงก์สีฟ้าได้เลย แบรนด์เขาจะมีข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ  สามารถติดต่อเพจของเขาได้เลย ให้การทำปุ๋ยหมัก เป็นเรื่องอีซี่ ๆ ที่มนุษย์คอนโดก็ทำได้ ไม่ต้องง้อสวนหลังบ้าน

Related posts
สูตรอาหารความรู้สุขภาพไลฟ์สไตล์

กินไข่ลวกตอนเช้าดีไหม ไข่ลวกมีประโยชน์อย่างไร พร้อมบอกวิธีทำไข่ลวก

ช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า ๆ…
Read more
ความรู้ข่าวสุขภาพอื่นๆเครื่องมือไลฟ์สไตล์

เบรกแล้วสั่นเกิดจากอะไร ทำยังไงให้พวงมาลัยหายสั่น

การขับขี่รถบนท้องถนนต้องใช้ความระมัดระวัง…
Read more
ความรู้สุขภาพเครื่องมือแฟชั่นไลฟ์สไตล์

เลือกโฟมล้างหน้าอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา

“โฟมล้างหน้า” คือ…
Read more
Newsletter
Become a Trendsetter
Sign up for Davenport’s Daily Digest and get the best of Davenport, tailored for you.