เครื่องมือ

เซอร์กิตเบรกเกอร์คืออะไรและวิธีเลือกเบรกเกอร์ที่คุณอาจยังไม่รู้

เบรกเกอร์กันไฟดูดหรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดระบบไฟ และตัดกระแสไฟเพื่อป้องกันการจ่ายกระแสไฟเกิน กระแสไฟรั่วไหล หรือไฟฟ้าลัดวงจร จนอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตของผู้อาศัยและทรัพย์สินในบริเวณนั้นได้ อีกทั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ยังทำงานร่วมกันและเกี่ยวเนื่องกับหลายระบบ ตั้งแต่ในตู้คอนโทรล (Control Panel) ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท (Consumer Unit) ตู้สวิตช์บอร์ด (MDB), ตู้ควบคุมมอเตอร์ และตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) จึงเรียกได้ว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสถานที่ทุกแห่งที่มีการใช้ไฟฟ้า ด้วยหน้าที่หลักของเบรกเกอร์จะช่วยระงับเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่พักอาศัยในอาคาร รวมไปถึงป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดจากกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในการเลือกใช้เบรกเกอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานและมีความปลอดภัยอย่างสูงสุด ก่อนอื่นเรามารู้ถึงประเภทของเบรกเกอร์แต่ละชนิดว่ามีอะไรบ้าง

เบรกเกอร์มีกี่ประเภท

เบรกเกอร์หลักในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 

MCB (Miniature Circuit Breaker) หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย 

MCB (Miniature Circuit Breaker) หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย

เบรกเกอร์ลูกย่อยจะนิยมใช้ภายในที่พักอาศัยทั่วไป ที่มีค่ากระแสไม่สูงมากนัก อาจมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 100A มักจะติดตั้งในตู้ Consumer หรือ Load Center 

MCCB (Moulded Case Circuit Breaker) 

MCCB (Moulded Case Circuit Breaker) 

โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ที่ทำจากวัสดุฟีโนลิค ซึ่งห่อหุ้มด้วย mold 2 เป็นฉนวนไฟฟ้าที่สามารถทนแรงดันได้ดี มีค่ากระแสเท่ากับหรือน้อยกว่า 1600A ทำงานทั้งแบบโดยอัตโนมัติ และแบบแมนนวลที่เปิด – ปิดได้ด้วยมือ 

ACB (Air Circuit Breaker)

แอร์เซอร์กิต เบรกเกอร์ หรือ ACB คือ เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ ที่มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300A มักจะถูกติดตั้งในตู้ MDB เบรกเกอร์ชนิด ACB จะมีขนาดใหญ่กว่า MCB และ MCCB เป็นเบรกเกอร์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและป้องกันการลัดวงจรของไฟฟ้าได้สูง อีกทั้งมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน นิยมใช้ในโครงสร้างขนาดใหญ่ และงานที่ต้องใช้แรงดันสูง เนื่องจากความสามารถในการรองรับ อีกทั้งยังตรวจจับกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

หลักการเลือกเบรกเกอร์เบื้องต้น

อาคารที่พักอาศัยโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Single Phrase) ส่วนที่เป็นอาคารพาณิชย์หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส ดังนั้นควรที่จะเลือกใช้เบรกเกอร์ให้สัมพันธ์กับลักษณะการใช้งานและโครงสร้างของอาคาร ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีแรงดันต่ำไม่เกิน 400V 

อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมีหลายยี่ห้อด้วยกัน จนอาจทำให้หลายๆคนสับสนว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างเบรกเกอร์ยี่ห้ออะไรดี แต่หลักสำคัญในการเลือกซื้อเบรกเกอร์มี 2 ปัจจัย คือ จำนวน Pole และ ค่าพิพัดกระแส และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตรงกับความต้องการ มีความปลอดภัย และใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด

ปัจจัยหลักในการเลือกเบรกเกอร์ 

จำนวน Pole 

Pole คือสิ่งที่บ่งชี้ว่าเบรกเกอร์ที่ต้องการใช้งานนั้น เป็นชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส เพื่อนำไปใช้งานได้เหมาะสมและถูกต้อง จะประกอบไปด้วย 

  • 1 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส โดยใช้ร่วมกับตู้ Consumer Unit ที่พักอาศัยทั่วไป บ้าน คอนโด เป็นต้น 
  • 2 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส รวมเข้ากับสาย Neutral ใช้เป็น Main Breaker ในตู้ Consumer Unit 
  • 3 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจากสาย Line เท่านั้น นิยมใช้ในร้านค้า ร้านอาหาร อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม 
  • 4 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส รวมเข้ากับสาย Neutral ที่สามารถป้องกันสายไฟฟ้าหลักได้ทั้ง 4 เส้น เมื่อตรวจพบความผิดปกติ ก็จะทำการตัดไฟทันที เป็นระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่ปลอดภัยสูง 

ค่าพิกัดกระแส 

ค่าพิกัดกระแสเป็นอีกสิ่งสำคัญสำหรับเบรกเกอร์ เพราะเป็นสิ่งที่บอกถึงขีดความสามารถ และข้อจำกัดของเบรกเกอร์แต่ละชนิด โดยมีหลักการในการอ่านค่าพิกัด ดังนี้ 

  • ค่า IC หรือ Interrupting Capacitive คือ ค่าพิกัดของขีดความสามารถในการทนต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่สูงที่สุดของเบรกเกอร์ตัวนั้นๆ 
  • ค่า AT หรือ Amp Trip คือ ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเป็นดัชนีที่บอกว่าเบรกเกอร์มีความทนทานต่อกระแสไฟฟ้าในภาวะปกติได้มากเท่าไร 
  • ค่า AF หรือ Amp Frame คือ ขนาดการทนทานของกระแสเปลือกหุ้มเบรกเกอร์ต่อไฟฟ้าลัดวงจร โดยขนาดเบรกเกอร์ที่เท่ากัน และเปลี่ยนพิกัด AT ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงขนาด

เลือกตามฟังก์ชันที่ใช้งาน 

การเลือกเบรกเกอร์ที่มีฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสมและตรงต่อการใช้งาน จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในเรื่องของการใช้ประโยชน์และการป้องกันความเสียหาย 

เลือกเบรกเกอร์ให้เหมาะกับลักษณะอาคารและการใช้งาน 

เพราะปริมาณการใช้งานกระแสไฟฟ้าของแต่ละประเภทอาคารนั้นแตกต่างกัน เบรกเกอร์สำหรับที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนทั่วไป สามารถเลือกเป็นเบรกเกอร์ที่ป้องกันไฟฟ้าเฉพาะจุด หรือเบรกเกอร์ที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส แต่ถ้าเป็นการใช้ในอาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการธุรกิจ ร้านอาหาร หรือระบบโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ปริมาณไฟฟ้าจำนวนมาก จะต้องเลือกเบรกเกอร์ที่สามารถควบคุมได้หลายจุด หรือที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส 

มาตรฐานการรับรองของอุปกรณ์ 

โดยมาตรฐานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในที่นี้ ได้แก่ มอก.บังคับ (แบบที่มีวงกลมล้อมรอบตัว มอก.) เพราะเป็นเครื่องหมายสำหรับสินค้าประเภทที่ต้องมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน หรือ ที่มีสัญลักษณ์ IEC (International Electrotechnical Commission) ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานสินค้าด้านไฟฟ้า และการเทคโนโลยีต่างๆในระดับสากล

แบรนด์และแหล่งการผลิตมีมาตรฐานรองรับน่าเชื่อถือ 

โรงงานหรือบริษัทที่ผลิตมีมาตรฐานรองรับ แบรนด์เป็นที่รู้จักของท้องตลาด เพราะเป็นสิ่งการันตีถึงคุณภาพสินค้า ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าในตลาดเมืองไทยมีหลายยี่ห้อและหลายรุ่นด้วยกัน จึงต้องพิจารณาในการเลือกใช้ หากไม่ได้เป็นช่างหรือผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ามากนัก พยายามเลือกแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั่วไป หรือจากคำแนะนำส่วนใหญ่ของผู้เชี่ยวชาญ อย่าง Schneider ซึ่งเป็นแบรนด์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตโดยบริษัทชั้นนำระดับโลก มีมาตรฐานสากลรองรับ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แค่เพียงบอกชื่อ ชไนเดอร์ ช่างไฟฟ้าหรือผู้จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าย่อมรู้จักแน่นอน 

ยี่ห้ออุปกรณ์ไฟฟ้าและเบรกเกอร์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย

อุปกรณ์ไฟฟ้าชไนเดอร์ หรือ Schneider เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารขนาดกลางไปจนถึงอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อย่าง ภัตตาคาร อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่หากลองไปสำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารส่วนใหญ่มักจะต้องได้เห็น Schneider แทบทุกที่ เพราะในประเทศไทยมีการใช้ Square D มาอย่างยาวนาน ทั้ง Square D , Acti 9 , เบรกเกอร์ MCB และ เบรกเกอร์ RCBO 

เบรกเกอร์ MCB Schneider หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่ม Square D ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ฝั่งอเมริกา โดยเบรกเกอร์เป็นแบบ Plog on มีสีดำทั้งหมด (รุ่น QOE, QOvs, QObvs) ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิท หรือ โหลดเซ็นเตอร์ได้เลย ส่วนการเลือกใช้งานต้องดูตามพิกัดกระแสไฟฟ้า และ กลุ่ม Merlin Gerin เป็นผลิตภัณฑ์ฝั่งยุโรป (รุ่น Acti 9) มีตัวเบรกเกอร์เป็นสีขาว เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB Acti 9 Schneider เป็นอุปกรณ์แบบ DIN Rail มีขนาดเล็กจึงช่วยลดขนาดแผงควบคุมลงได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย มีแถบสีแดงแสดงสถานะ Fault Trip และแถบสีเขียวแสดงหน้าคอนแทคปกติ เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน เหมาะกับบ้าน ที่อยู่อาศัย หรืออาคารขนาดเล็ก 

MCB Acti 9 Schneider

เบรกเกอร์ MCCB Schneider มีขนาดใหญ่ และสามารถทนกระแสลัดวงจรได้มากกว่า MCB นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยติดตั้งในตู้ Local pannel ส่วนใหญ่ตัวเบรกเกอร์ MCCB จะเป็นสีดำ มีหลายรุ่นให้เลือกตามการใช้งาน ซึ่งจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม EasyPact เบรกเกอร์คุณภาพดี ราคาไม่แพง รองรับการใช้งานในการป้องกันแรงดันไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับการติดตั้งไฟฟ้าที่ไม่เกิน 50 kA/415V ในที่พักอาศัย หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และกลุ่ม Compact เบรกเกอร์คุณภาพดี แต่ราคาสูงกว่ากลุ่มแรก เป็นเบรกเกอร์ที่ได้รับความนิยม เพราะมีระบบวัดแสงอัจฉริยะ และฟังก์ชั่นในการป้องกันมีประสิทธิภาพสูง กระแสไฟฟ้าขนาด 16 – 630A

เบรกเกอร์ ACB Schneider เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของเบรกเกอร์ไฟฟ้าแรงดันต่ำทั้งหมด นิยมใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ หรือแหล่งจ่ายไฟตัวหลัก เนื่องจากมีพิกัดกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องสูง อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่ แข็งแรง ทนทานต่อกระแสไฟและการใช้งาน สามารถเพิ่มอุปกรณ์ช่วยต่างๆเข้าไปได้ เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคารพาณิชย์ต่างๆ และ โรงงานอุตสาหกรรม 

หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อแหล่งรวมอุปกรณ์ไฟฟ้า schneider เพื่อขอคำปรึกษา หรือรายละเอียดสินค้า รวมไปถึงวิธีการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และการติดตั้งที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่าง 100 % 

Related posts
ความรู้ข่าวสุขภาพอื่นๆเครื่องมือไลฟ์สไตล์

เบรกแล้วสั่นเกิดจากอะไร ทำยังไงให้พวงมาลัยหายสั่น

การขับขี่รถบนท้องถนนต้องใช้ความระมัดระวัง…
Read more
ความรู้สุขภาพเครื่องมือแฟชั่นไลฟ์สไตล์

เลือกโฟมล้างหน้าอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา

“โฟมล้างหน้า” คือ…
Read more
ความรู้อื่นๆเครื่องมือแฟชั่นไลฟ์สไตล์

ผ้าแบบไหนไม่ควรนำเข้าเครื่องอบผ้า ทำให้เกิดความเสียหาย และเป็นอันตรายได้

หลาย ๆ…
Read more
Newsletter
Become a Trendsetter
Sign up for Davenport’s Daily Digest and get the best of Davenport, tailored for you.
ท่องเที่ยวอื่นๆเครื่องมือ

รู้ได้อย่างไรว่าถึงเวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์แล้ว

Worth reading...