เบรกเกอร์กันไฟดูดหรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ คืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปิด-ปิดระบบไฟ และตัดกระแสไฟเพื่อป้องกันการจ่ายกระแสไฟเกิน กระแสไฟรั่วไหล หรือไฟฟ้าลัดวงจร จนอาจเป็นเหตุให้เกิดอันตรายทั้งต่อชีวิตของผู้อาศัยและทรัพย์สินในบริเวณนั้นได้ อีกทั้งเซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) ยังทำงานร่วมกันและเกี่ยวเนื่องกับหลายระบบ ตั้งแต่ในตู้คอนโทรล (Control Panel) ตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิท (Consumer Unit) ตู้สวิตช์บอร์ด (MDB), ตู้ควบคุมมอเตอร์ และตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) จึงเรียกได้ว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นมีความสำคัญอย่างมากสำหรับสถานที่ทุกแห่งที่มีการใช้ไฟฟ้า ด้วยหน้าที่หลักของเบรกเกอร์จะช่วยระงับเหตุของไฟฟ้าลัดวงจร สร้างความปลอดภัยให้กับผู้ที่พักอาศัยในอาคาร รวมไปถึงป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่อาจเกิดจากกระแสไฟฟ้า ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องพิจารณาในการเลือกใช้เบรกเกอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดที่มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานและมีความปลอดภัยอย่างสูงสุด ก่อนอื่นเรามารู้ถึงประเภทของเบรกเกอร์แต่ละชนิดว่ามีอะไรบ้าง
เบรกเกอร์มีกี่ประเภท
เบรกเกอร์หลักในปัจจุบันจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
MCB (Miniature Circuit Breaker) หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย
เบรกเกอร์ลูกย่อยจะนิยมใช้ภายในที่พักอาศัยทั่วไป ที่มีค่ากระแสไม่สูงมากนัก อาจมีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 100A มักจะติดตั้งในตู้ Consumer หรือ Load Center
MCCB (Moulded Case Circuit Breaker)
โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นเบรกเกอร์ที่ทำจากวัสดุฟีโนลิค ซึ่งห่อหุ้มด้วย mold 2 เป็นฉนวนไฟฟ้าที่สามารถทนแรงดันได้ดี มีค่ากระแสเท่ากับหรือน้อยกว่า 1600A ทำงานทั้งแบบโดยอัตโนมัติ และแบบแมนนวลที่เปิด – ปิดได้ด้วยมือ
ACB (Air Circuit Breaker)
แอร์เซอร์กิต เบรกเกอร์ หรือ ACB คือ เบรกเกอร์ขนาดใหญ่ ที่มีค่ากระแสน้อยกว่าหรือเท่ากับ 6300A มักจะถูกติดตั้งในตู้ MDB เบรกเกอร์ชนิด ACB จะมีขนาดใหญ่กว่า MCB และ MCCB เป็นเบรกเกอร์ที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งและป้องกันการลัดวงจรของไฟฟ้าได้สูง อีกทั้งมีความแข็งแรง ทนทานต่อการใช้งาน นิยมใช้ในโครงสร้างขนาดใหญ่ และงานที่ต้องใช้แรงดันสูง เนื่องจากความสามารถในการรองรับ อีกทั้งยังตรวจจับกระแสไฟฟ้าลัดวงจรจำนวนมากได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการเลือกเบรกเกอร์เบื้องต้น
อาคารที่พักอาศัยโดยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 1 เฟส (Single Phrase) ส่วนที่เป็นอาคารพาณิชย์หรือโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ จะใช้ระบบไฟฟ้าแบบ 3 เฟส ดังนั้นควรที่จะเลือกใช้เบรกเกอร์ให้สัมพันธ์กับลักษณะการใช้งานและโครงสร้างของอาคาร ซึ่งโดยทั่วไปมักจะมีแรงดันต่ำไม่เกิน 400V
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทยนั้นมีหลายยี่ห้อด้วยกัน จนอาจทำให้หลายๆคนสับสนว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างเบรกเกอร์ยี่ห้ออะไรดี แต่หลักสำคัญในการเลือกซื้อเบรกเกอร์มี 2 ปัจจัย คือ จำนวน Pole และ ค่าพิพัดกระแส และองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อให้ได้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ตรงกับความต้องการ มีความปลอดภัย และใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด
ปัจจัยหลักในการเลือกเบรกเกอร์
จำนวน Pole
Pole คือสิ่งที่บ่งชี้ว่าเบรกเกอร์ที่ต้องการใช้งานนั้น เป็นชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟส เพื่อนำไปใช้งานได้เหมาะสมและถูกต้อง จะประกอบไปด้วย
- 1 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส โดยใช้ร่วมกับตู้ Consumer Unit ที่พักอาศัยทั่วไป บ้าน คอนโด เป็นต้น
- 2 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส รวมเข้ากับสาย Neutral ใช้เป็น Main Breaker ในตู้ Consumer Unit
- 3 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรจากสาย Line เท่านั้น นิยมใช้ในร้านค้า ร้านอาหาร อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรม
- 4 Pole คือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส รวมเข้ากับสาย Neutral ที่สามารถป้องกันสายไฟฟ้าหลักได้ทั้ง 4 เส้น เมื่อตรวจพบความผิดปกติ ก็จะทำการตัดไฟทันที เป็นระบบป้องกันไฟฟ้าลัดวงจรที่ปลอดภัยสูง
ค่าพิกัดกระแส
ค่าพิกัดกระแสเป็นอีกสิ่งสำคัญสำหรับเบรกเกอร์ เพราะเป็นสิ่งที่บอกถึงขีดความสามารถ และข้อจำกัดของเบรกเกอร์แต่ละชนิด โดยมีหลักการในการอ่านค่าพิกัด ดังนี้
- ค่า IC หรือ Interrupting Capacitive คือ ค่าพิกัดของขีดความสามารถในการทนต่อกระแสไฟฟ้าลัดวงจรที่สูงที่สุดของเบรกเกอร์ตัวนั้นๆ
- ค่า AT หรือ Amp Trip คือ ขนาดของกระแสไฟฟ้าที่ต้องการใช้งาน ซึ่งเป็นดัชนีที่บอกว่าเบรกเกอร์มีความทนทานต่อกระแสไฟฟ้าในภาวะปกติได้มากเท่าไร
- ค่า AF หรือ Amp Frame คือ ขนาดการทนทานของกระแสเปลือกหุ้มเบรกเกอร์ต่อไฟฟ้าลัดวงจร โดยขนาดเบรกเกอร์ที่เท่ากัน และเปลี่ยนพิกัด AT ได้โดยไม่เปลี่ยนแปลงขนาด
เลือกตามฟังก์ชันที่ใช้งาน
การเลือกเบรกเกอร์ที่มีฟังก์ชันต่างๆ ให้เหมาะสมและตรงต่อการใช้งาน จะทำให้การทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งในเรื่องของการใช้ประโยชน์และการป้องกันความเสียหาย
เลือกเบรกเกอร์ให้เหมาะกับลักษณะอาคารและการใช้งาน
เพราะปริมาณการใช้งานกระแสไฟฟ้าของแต่ละประเภทอาคารนั้นแตกต่างกัน เบรกเกอร์สำหรับที่พักอาศัยหรือบ้านเรือนทั่วไป สามารถเลือกเป็นเบรกเกอร์ที่ป้องกันไฟฟ้าเฉพาะจุด หรือเบรกเกอร์ที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 1 เฟส แต่ถ้าเป็นการใช้ในอาคารพาณิชย์ สถานที่ประกอบการธุรกิจ ร้านอาหาร หรือระบบโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการใช้ปริมาณไฟฟ้าจำนวนมาก จะต้องเลือกเบรกเกอร์ที่สามารถควบคุมได้หลายจุด หรือที่ใช้กับระบบไฟฟ้า 3 เฟส
มาตรฐานการรับรองของอุปกรณ์
โดยมาตรฐานของอุปกรณ์ไฟฟ้าในที่นี้ ได้แก่ มอก.บังคับ (แบบที่มีวงกลมล้อมรอบตัว มอก.) เพราะเป็นเครื่องหมายสำหรับสินค้าประเภทที่ต้องมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้งาน หรือ ที่มีสัญลักษณ์ IEC (International Electrotechnical Commission) ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่รับรองคุณภาพสินค้าประเภทอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานสินค้าด้านไฟฟ้า และการเทคโนโลยีต่างๆในระดับสากล
แบรนด์และแหล่งการผลิตมีมาตรฐานรองรับน่าเชื่อถือ
โรงงานหรือบริษัทที่ผลิตมีมาตรฐานรองรับ แบรนด์เป็นที่รู้จักของท้องตลาด เพราะเป็นสิ่งการันตีถึงคุณภาพสินค้า ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการใช้งาน ซึ่งอุปกรณ์ไฟฟ้าในตลาดเมืองไทยมีหลายยี่ห้อและหลายรุ่นด้วยกัน จึงต้องพิจารณาในการเลือกใช้ หากไม่ได้เป็นช่างหรือผู้เชี่ยวชาญด้านอุปกรณ์ไฟฟ้ามากนัก พยายามเลือกแบรนด์ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั่วไป หรือจากคำแนะนำส่วนใหญ่ของผู้เชี่ยวชาญ อย่าง Schneider ซึ่งเป็นแบรนด์อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ผลิตโดยบริษัทชั้นนำระดับโลก มีมาตรฐานสากลรองรับ นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย แค่เพียงบอกชื่อ ชไนเดอร์ ช่างไฟฟ้าหรือผู้จำหน่ายอุปกรณ์ไฟฟ้าย่อมรู้จักแน่นอน
ยี่ห้ออุปกรณ์ไฟฟ้าและเบรกเกอร์ที่นิยมใช้ในประเทศไทย
อุปกรณ์ไฟฟ้าชไนเดอร์ หรือ Schneider เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ทั้งระบบไฟฟ้าภายในบ้าน และระบบไฟฟ้าสำหรับอาคารขนาดกลางไปจนถึงอาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ อย่าง ภัตตาคาร อาคารพาณิชย์ และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ที่หากลองไปสำรวจอุปกรณ์ไฟฟ้าในอาคารส่วนใหญ่มักจะต้องได้เห็น Schneider แทบทุกที่ เพราะในประเทศไทยมีการใช้ Square D มาอย่างยาวนาน ทั้ง Square D , Acti 9 , เบรกเกอร์ MCB และ เบรกเกอร์ RCBO
เบรกเกอร์ MCB Schneider หรือ เบรกเกอร์ลูกย่อย แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่ กลุ่ม Square D ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ฝั่งอเมริกา โดยเบรกเกอร์เป็นแบบ Plog on มีสีดำทั้งหมด (รุ่น QOE, QOvs, QObvs) ติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิท หรือ โหลดเซ็นเตอร์ได้เลย ส่วนการเลือกใช้งานต้องดูตามพิกัดกระแสไฟฟ้า และ กลุ่ม Merlin Gerin เป็นผลิตภัณฑ์ฝั่งยุโรป (รุ่น Acti 9) มีตัวเบรกเกอร์เป็นสีขาว เบรกเกอร์ลูกย่อย MCB Acti 9 Schneider เป็นอุปกรณ์แบบ DIN Rail มีขนาดเล็กจึงช่วยลดขนาดแผงควบคุมลงได้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย มีแถบสีแดงแสดงสถานะ Fault Trip และแถบสีเขียวแสดงหน้าคอนแทคปกติ เพื่อความปลอดภัยสำหรับการใช้งาน เหมาะกับบ้าน ที่อยู่อาศัย หรืออาคารขนาดเล็ก
เบรกเกอร์ MCCB Schneider มีขนาดใหญ่ และสามารถทนกระแสลัดวงจรได้มากกว่า MCB นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม โดยติดตั้งในตู้ Local pannel ส่วนใหญ่ตัวเบรกเกอร์ MCCB จะเป็นสีดำ มีหลายรุ่นให้เลือกตามการใช้งาน ซึ่งจะมี 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ กลุ่ม EasyPact เบรกเกอร์คุณภาพดี ราคาไม่แพง รองรับการใช้งานในการป้องกันแรงดันไฟฟ้าต่ำ เหมาะกับการติดตั้งไฟฟ้าที่ไม่เกิน 50 kA/415V ในที่พักอาศัย หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และกลุ่ม Compact เบรกเกอร์คุณภาพดี แต่ราคาสูงกว่ากลุ่มแรก เป็นเบรกเกอร์ที่ได้รับความนิยม เพราะมีระบบวัดแสงอัจฉริยะ และฟังก์ชั่นในการป้องกันมีประสิทธิภาพสูง กระแสไฟฟ้าขนาด 16 – 630A
เบรกเกอร์ ACB Schneider เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของเบรกเกอร์ไฟฟ้าแรงดันต่ำทั้งหมด นิยมใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ หรือแหล่งจ่ายไฟตัวหลัก เนื่องจากมีพิกัดกระแสไฟฟ้าต่อเนื่องสูง อีกทั้งยังมีขนาดใหญ่ แข็งแรง ทนทานต่อกระแสไฟและการใช้งาน สามารถเพิ่มอุปกรณ์ช่วยต่างๆเข้าไปได้ เหมาะสำหรับติดตั้งในอาคารพาณิชย์ต่างๆ และ โรงงานอุตสาหกรรม
หากต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อแหล่งรวมอุปกรณ์ไฟฟ้า schneider เพื่อขอคำปรึกษา หรือรายละเอียดสินค้า รวมไปถึงวิธีการเลือกอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้เหมาะสมต่อการใช้งาน และการติดตั้งที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินได้อย่าง 100 %