ต่อจากบทความที่แล้วในเรื่องของ “น้ำสามเกลอ” ซึ่งเป็นน้ำสมุนไพรลดไขมันเส้นเลือด หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องใช้สมุนไพร 3 ชนิดนี้ด้วยกัน เนื่องมาจากว่าประโยชน์ของสมุนไพรแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันไป การนำสมุนไพรมาใช้ด้วยกันจะช่วยเสริมกำลังให้มีประสิทธิภาพ ตรงจุดประสงค์หลัก และช่วยต้านทานฤทธิ์ที่อาจมากเกินไปเมื่อทานเดี่ยว ๆ ถ้าดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงแบบเดี่ยว ๆ ไปนาน ๆ อาจทำให้ไตพังได้ แต่สารสำคัญในพุทราจีนจะช่วยลดกรดบางชนิดในกระเจี๊ยบที่มีผลต่อไตให้เจือจางลง และความหวานของพุทราจีนไปตัดกับรสเปรี้ยวของกระเจี๊ยบแดง ให้น้ำสมุนไพรมีรสกลมกล่อมยิ่งขึ้น และกลิ่นหอมละมุนของมะตูมก็ช่วยให้รู้สึกสดชื่น กลายเป็นความลงตัวทั้งในรสชาติและคุณประโยชน์ของสมุนไพร
และจากที่ได้รู้ว่าน้ำสมุนไพรสามเกลอมีประโยชน์ต่อสุขภาพในด้านใดกันไปแล้วในบทความน้ำสมุนไพรสามเกลอ บทนี้เราจะมาแยกประโยชน์ของสมุนไพรในน้ำสามเกลอแต่ละตัวว่ามีสรรพคุณอะไรกันบ้างดีกว่า
ประโยชน์ของกระเจี๊ยบแดง
- ป้องกันโรคหัวใจ เพราะในกระเจี๊ยบแดงมีสารเอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารที่ช่วยทำให้เส้นเลือดอ่อนนิ่ม ไม่ไปเกาะกับหลอดเลือด ทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดสมดุล บำรุงหัวใจ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ลดไข้ เพราะในกระเจี๊ยบแดงมีสารเอนโทไซยานิน (Anthocyanin) สารกลุ่มฟินอลิก สารกลุ่มฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ลดไข้ ต้านการอักเสบ
- แก้ไอ ละลายเสมหะ ขับเมือกมันในลำคอให้ไหลลงสู่ระบบขับถ่าย และช่วยขับพยาธิตัวจี๊ดได้ด้วย
- ป้องกันมะเร็ง ในกระเจี๊ยบแดงมีสารโพลีฟีนอล ชนิด Protocatechuic Acid ซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็ง
- รักษาแผลภายนอก ฝี และแผลในกระเพาะอาหาร เพราะมีสารที่มีสรรพคุณต้านการอักเสบ ทำให้ลำไส้มีความหล่อลื่น และยังช่วยเป็นยาระลายอ่อน ๆ ส่วนการรักษาแผลสดนั้นจะใช้ใบกระเจี๊ยบแดงสด ล้างให้สะอาดแล้วตำละเอียด จากนั้นประคบฝี หรือนำน้ำต้มใบกระเจี๊ยบล้างแผล
- กระเจี๊ยบแดงมีกรดซิตริก บำรุงธาตุ ช่วยให้ร่างกายสดชื่น แก้อ่อนเพลีย
- บำรุงสายตา เพราะกระเจี๊ยบมีวิตามินเอสูง (12,583 I.U / 100 กรัม) ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง เพราะกลีบเลี้ยงผลและกลีบดอกอุดมไปด้วยแคลเซียม
- ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณ และเป็นสีผสมในผลิตภัณฑ์ เนื่องจากน้ำต้มของดอกกระเจี๊ยบแห้ง มีกรดผลไม้ AHA หลายชนิดในปริมาณสูง ช่วยบำรุงผิวพรรณ ผิวใส ผิวอ่อนเยาว์ เช่น โลชั่น เจลอาบน้ำ ครีมขัดผิว ครีมหน้าใส
- ใช้ประกอบอาหาร ขนม เครื่องดื่ม และ สีผสมอาหาร เช่น แกงส้ม ยำดอกกระเจี๊ยบ แยม เบเกอรี่ ไอศครีม ไวน์ ซอส น้ำหวาน ชา อย่าง ดอกกระเจี๊ยบแช่อิ่ม กระเจี๊ยบกวน และใบอ่อนของกระเจี๊ยบแดงเป็นผักที่กินได้
- ใช้เป็นสีย้อมผ้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- ลำต้นกระเจี๊ยบแดงใช้ทำเป็นเชือกปอได้
- ในแอฟริกาใต้จะใช้น้ำมันเมล็ดกระเจี๊ยบแดงรักษาแผลให้อูฐ
*หมายเหตุ ด้วยฤทธิ์ของกระเจี๊ยบแดงช่วยขับปัสสาวะ หากดื่มน้ำกระเจี๊ยบแดงอย่างเดียว เป็นระยะเวลานาน ๆ อาจทำให้ไตทำงานหนักในการขับปัสสาวะ ส่งผลให้ไตเสื่อมได้ จึงต้องใช้พุทราจีนผสมเพื่อให้ไปแก้กรดซิตริกของกระเจี๊ยบไม่ให้ออกฤทธิ์มากเกินไป และยังช่วยบำรุงไตไปพร้อมกัน
ประโยชน์ของพุทราจีน
- พุทราจีนช่วยลดผลข้างเคียงของกรดซิตริกในกระเจี๊ยบแดงที่ส่งผลต่อการทำงานของไต ลดความเสี่ยงปัญหาไตที่เกิดจากการฤทธิ์ในสารของกระเจี๊ยบ
- แก้อาการท้องเสียได้เป็นอย่างดี เพราะเปลือกพุทราจีนมีสารแทนนิน (ทำให้เปลือกพุทราจีนมีรสขม)
- ลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด ป้องกันความดันโลหิตสุง
- ป้องกันเส้นเลือดแข็งตัว เส้นเลือดหัวใจตีบตัน และเส้นเลือดในสมองแตก
- บำรุงประสาท แก้โรคนอนไม่หลับ
- ใบของพุทราจีนลดพิษแมลงสัตว์กัดต่อย และผื่นคันต่าง ๆ ได้
- เมล็ดพุทราจีน ช่วยรักษาอาการชักในเด็ก และลดไข้แก้หวัดในเด็กได้อีกด้วย
- ใช้ประกอบอาหาร หรือแปรรูต่าง ๆ เช่น พุทราจีนเชื่อม พุทราจีนทอด ไก่ตุ๋นพุทราจีน แกงจืดเห็ดหูหนูพุทราจีน ไข่ต้มเก๋ากี้พุทราจีน พุทราจีนต้มหัวหอม ถั่วเขียวต้มพุทราจีน น้ำกระเจี๊ยบพุทราจีนบำรุงหัวใจ เป็นต้น
ประโยชน์ของมะตูม
- ทานเป็นผลไม้ ด้วยการทานเนื้อมะตูมสด
- มะตูมแห้งใช้แปรรูปเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เช่น น้ำมะตูม น้ำมะตูมมะขาม น้ำ 3 เกลอ
- ต้มแล้วกรองเอาแต่น้ำ + เติมน้ำตาล จะได้เครื่องดื่มรสชาติมะนาว
- อาหารแปรรูป และส่วนประกอบอาหาร ขนมต่าง ๆ เช่น มะตูมเชื่อม
- ใบอ่อนของมะตูมใช้ทานเป็นผักสด และ ผักสลัด
สมุนไพรไทยมีประโยชน์และสรรพคุณมากมาย แต่ก็มีโทษได้เช่นกัน หากนำไปใช้ไม่ถูกวิธี และใช้แบบไม่มีความรู้ ดังนั้น การจะใช้สมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาพและการรักษาโรค ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือผู้มีประสบการณ์โดยตรง เพื่อให้ใช้ประโยชน์ของสมุนไพรได้ผลดี โดยไม่เกิดโทษหรือมีผลข้างเคียงต่อสุขภาพค่ะ