สุขภาพไลฟ์สไตล์

เตือนภัยร้าย หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เสียชีวิตโดยไม่ทันตั้งตัว 

Asian man sick because of smoking than quantity.He is a heart disease because smoking.no world tobacco day concept

ภัยเงียบที่เป็นอันตรายถึงชีวิตมีหลายโรคด้วยกัน และหนึ่งในนั้นได้แก่ หัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน หรือ ระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลว อาการแทรกซ้อนที่ทำให้เสียชีวิตเฉียบพลัน ซึ่งนับวันก็มีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยสาเหตุนี้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้แต่ในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงหรือเป็นนักกีฬาก็ตาม 

ระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลวเกิดจากอะไร 

สาเหตุระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลวสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการแทรกซ้อนในผู้มีภาวะโรคประจำตัวแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือถูกกระตุ้นให้อาการกำเริบ ซึ่งมักจะเกี่ยวเนื่องกับ ภาวะหัวใจล้มเหลว หรือ หัวใจวาย (Heart Failure) แล้วส่งผลต่อระบบการไหลเวียนโลหิต โดยเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงระบบอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ทั่วถึง จึงส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตลงกระทันหัน นอกจากนี้ยังพบในผู้สูงอายุที่มักจะเกิดภาวะระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลว จากการที่กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ก็สามารถเกิดขึ้นในผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง หรือออกกำลังกายเป็นประจำด้วยเช่นกัน แต่อาจมีปัญหาระบบหัวใจตั้งแต่กำเนิด เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โรคลิ้นหัวใจรั่ว ไทรอยด์เป็นพิษ แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง หรือมีปัจจัยภายนอกกระตุ้น เช่น การพักผ่อนไม่เพียงพอ สถาพอากาศ เป็นต้น 

สาเหตุภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ใช่ภาวะหัวใจหยุดเต้น แต่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจสูบฉีดเลือดลดลง ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นจากการพยายามบีบตัวเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายให้เป็นปกติ เมื่อหัวใจทำงานหนักบ่อย ๆ จนยืดและขยาย จึงค่อย ๆ อ่อนล้าและหมดแรงที่จะสูบฉีดเลือดได้อีกต่อไป  

ภาวะระบบระบบหายใจไหลเวียนโลหิตล้มเหลว มักจะเป็นโรคร่วมที่เกิดขึ้นตามหลังโรคประจำตัว หรือจะเรียกว่าเป็นโรคเบื้องหลังที่ผู้ป่วยมีอยู่เดิม โดยกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย มักจะเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น 

  • โรคเบาหวาน 
  • โรคเกี่ยวกับหัวใจ 
  • โรคความดันโลหิตสูง 
  • ความผิดปกติของหัวใจโดยกำเนิด
  • โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลให้เลือดไหวเวียนไม่สะดวก 
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เต็มที่
  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ที่อาจเกิดจากแอลกอฮอล์หรือสารเสพติด
  • การติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคเอดส์ เป็นต้น 
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานยาบางชนิด รับประทานเค็ม สูบบุหรี่ พักผ่อนไม่เพียงพอ ไม่ออกกำลังกาย  

สังเกตอาการอย่างไร บ่งบอกว่าเสี่ยง ภาวะหัวใจล้มเหลว 

เมื่อเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว จะส่งผลกระทบให้เกิด ภาวะระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว ซึ่งถือว่าเป็นโรคที่มีความรุนแรงและน่ากลัวมาก เพราะเป็นโรคที่ทำให้เสียชีวิตโดยเฉียบพลันได้ในทุกวัย โดยไม่มีสัญญาณเตือนภาวะหัวใจล้มเหลวแจ้งให้ทราบล่วงหน้า แต่จะมีภาวะแทรกซ้อนหลังจากที่มีความรุนแรงของโรคที่พบได้ทั่วไป เช่น คือ เหนื่อยง่ายผิดปกติ แม้จะทำกิจกรรเบา ๆ ก็จะรู้สึกเหนื่อยไวขึ้น การขึ้น-ลงบันไดแทบไม่ไหว เดินได้ในระยะสั้นลง นอนราบลำบาก หายใจไม่สะดวก ท้องอืด และมีภาวะตับโต นอกจากนี้ยังมีอาการที่เฝ้าสังเกตได้ เช่น 

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายผิดปกติ
  • ท้องอืด 
  • ข้อเท้า เท้า หรือ ขาบวม
  • เวียนศีรษะ หน้ามืดบ่อย 
  • ทำกิจกรรมเบา ๆ ก็รู้สึกเหนื่อยไวขึ้น
  • เดินได้ในระยะที่สั้นลง 
  • เดินขึ้นบันไดแทบไม่ไหวและเหนื่อยเร็ว 
  • หายใจลำบากเมื่อนอนราบ
  • ตื่นกลางดึกเพราะไอหรือหายใจลำบาก
  • เข้าห้องน้ำบ่อยตอนกลางคืน
  • มีภาวะตับโต 

การป้องกันหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

การป้องกันเบื้องต้น คือ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว กลุ่มเสี่ยง และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว ควรทำการตรวจสอบร่างกายและสุขภาพสม่ำเสมอ ทำการเอ็กซเรย์ปอด ตรวจวัดคลื่นหัวใจไฟฟ้าเพื่อหาความผิดปกติของระบบหัวใจ การงดหรือเลิกสูบบุหรี่ และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรเข้ารับการรักษาอาการต่อเนื่อง เพื่อป้องกันไม่ให้โรคกำเริบจนไปกระตุ้นให้เกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว และนำไปสู่ภาวะ ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว 

นอกจากนี้ควรมีการพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หมั่นออกกำลังกาย และคอยสังเกตว่าเหนื่อยง่ายขึ้นไหม หายใจหรือมีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติหรือไม่ หากมีอาการผิดปกติหรือไม่แน่ใจ ควรรีบพบแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยทันที จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดภาวะเฉียบพลันและรักษาได้ทันท่วงที 

เมื่อเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างไรบ้าง 

  • เมื่อมีอาการแน่นหน้าอกหรือหายใจลำบาก ควรให้ผู้ป่วยนอนยกหัวสูง หรือนั่งตัวตรง หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอก ให้อมยาอมไว้ใต้ลิ้น 
  • กรณีผู้ป่วยหมดสติ หรือไม่รู้สึกตัว ให้ผู้ป่วยนอนหงาย หรือนอนตะแคงข้าง เพื่อป้องกันการสำลัก งดป้อนอาหาร น้ำ หรือยา แต่ให้ออกซิเจนแก่ผู้ป่วย แล้วรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน 

Related posts
สูตรอาหารความรู้สุขภาพไลฟ์สไตล์

กินไข่ลวกตอนเช้าดีไหม ไข่ลวกมีประโยชน์อย่างไร พร้อมบอกวิธีทำไข่ลวก

ช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า ๆ…
Read more
ความรู้ข่าวสุขภาพอื่นๆเครื่องมือไลฟ์สไตล์

เบรกแล้วสั่นเกิดจากอะไร ทำยังไงให้พวงมาลัยหายสั่น

การขับขี่รถบนท้องถนนต้องใช้ความระมัดระวัง…
Read more
ความรู้สุขภาพเครื่องมือแฟชั่นไลฟ์สไตล์

เลือกโฟมล้างหน้าอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา

“โฟมล้างหน้า” คือ…
Read more
Newsletter
Become a Trendsetter
Sign up for Davenport’s Daily Digest and get the best of Davenport, tailored for you.