เพราะ “หัวใจ” คืออวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย หากสุขภาพหัวใจมีปัญหา หัวใจทำงานบกพร่อง หัวใจทำงานผิดปกติ การสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายก็จะติดขัดหรือหยุดชะงัก จนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยและโรคอื่น ๆ ตามมาในที่สุด ดังนั้นการดูหัวใจให้ห่างไกลจาก โรคหัวใจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและไม่ควรประมาท แต่จะการดูแลและวิธีป้องกัน โรคหัวใจ ต้องทำอย่างไรบ้าง เรามีมาฝากในบทความนี้แล้วค่ะ
บริโภคอาหารที่เหมาะสม
เพราะ อาหาร เป็นปัจจัยแรก ๆ ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย เราต้องทานอาหารทุกวัน วันละ 2 – 3 มื้อ แตกต่างกันไป แต่กินอย่างไรไม่ให้เป็นโรคหัวใจ อันนี้ควรพึงระวังเหมือนกันทุกคน เพราะพฤติกรรมการกิน และอาหารที่เรากินนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายเสมอ การกินที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ คือ ลดการกินรสเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือสูง งดอาหารไขมันเลว และอาหารไขมันสูง ทั้งของทอด ของมัน แต่เลือกกินอาหารที่ดีต่อหัวใจ อาหารที่มีโปรตีนสูงแทน เช่น ไข่ ปลา ธัญพืช ผัก ผักใบเขียว ผลไม้สด อโวคาโด และกินอาหารที่มีไขมันในปริมาณที่ไม่เกินค่าแนะนำในแต่ละวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวได้
ลด หรือ งดเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อหัวใจ
ลดเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง งดแอลกอฮอล์ เลือกดื่มน้ำที่ไม่มีน้ำตาลผสม เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้คั้นสด น้ำมะนาว กาแฟดำ และควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะ น้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ และช่วยดูแลสุขภาพหัวใจได้เป็นอย่างดี
ออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือเลือกทำกิจกรรมที่ใช้พลังงาน เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การเล่นกีฬา การทำงานบ้าน หรือการเล่นโยคะ มีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
ส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจได้ง่ายกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะไปขัดขวางการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาไขมันอุดตัน จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นถี่เกินไป หรือระบบการทำงานของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะหัวใจหยุดเต้น ดังนั้น การรักษาน้ำหนักให้สมส่วนและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรรักษาน้ำหนักให้คงที่ งดทานอาหารที่มีไขมันสูง และลดการทานอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง
ควบคุมความเครียด รักษาสุขภาพใจ
ควรรู้จักการควบคุมความเครียด และจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถใช้เทคนิคการจัดการความเครียดได้หลายวิธีด้วยกัน การทำกิจกรรมโปรด หรือหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนสนใจทำ เช่น การอ่านหนังสือ การฟังเพลง การทำสมาธิ การเล่นโยคะ การปลูกต้น การร่วมกิจกรรมสันทนาการ หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น จะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ความกังวล และช่วยควบคุมความเครียดได้ดี
รักษาโรคเรื้อรัง
หากป่วยหรือมีภาวะโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดัน หรือ มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึงควรรักษาและดูแลอาการโรคที่เป็นอยู่อย่างตั้งใจ ใส่ใจและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจตามมาในอนาคต
หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือ ตรวจสุขภาพประจำปี
หมั่นตรวจสุขภาพประจำ หรือ ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และตรวจหาความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจในเบื้องต้นก่อนที่จะมีอาการลุกลาม รุนแรง เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจระดับไขมันในเส้นเลือด การตรวจ Stress test หรือตรวจด้วยระบบ EKG (Electrocardiogram)