สุขภาพ

ป้องกันอย่างไรไม่ให้เป็น “โรคหัวใจ”

เพราะ “หัวใจ” คืออวัยวะส่วนสำคัญของร่างกาย หากสุขภาพหัวใจมีปัญหา หัวใจทำงานบกพร่อง หัวใจทำงานผิดปกติ การสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ในร่างกายก็จะติดขัดหรือหยุดชะงัก จนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยและโรคอื่น ๆ ตามมาในที่สุด ดังนั้นการดูหัวใจให้ห่างไกลจาก โรคหัวใจ จึงเป็นสิ่งจำเป็นและไม่ควรประมาท แต่จะการดูแลและวิธีป้องกัน โรคหัวใจ ต้องทำอย่างไรบ้าง เรามีมาฝากในบทความนี้แล้วค่ะ 

บริโภคอาหารที่เหมาะสม 

เพราะ อาหาร เป็นปัจจัยแรก ๆ ที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้เลย เราต้องทานอาหารทุกวัน วันละ 2 – 3 มื้อ แตกต่างกันไป แต่กินอย่างไรไม่ให้เป็นโรคหัวใจ อันนี้ควรพึงระวังเหมือนกันทุกคน เพราะพฤติกรรมการกิน และอาหารที่เรากินนั้นส่งผลต่อสุขภาพร่างกายเสมอ การกินที่ส่งผลดีต่อสุขภาพหัวใจ คือ ลดการกินรสเค็ม หรืออาหารที่มีเกลือสูง งดอาหารไขมันเลว และอาหารไขมันสูง ทั้งของทอด ของมัน แต่เลือกกินอาหารที่ดีต่อหัวใจ อาหารที่มีโปรตีนสูงแทน เช่น ไข่ ปลา ธัญพืช ผัก ผักใบเขียว ผลไม้สด อโวคาโด และกินอาหารที่มีไขมันในปริมาณที่ไม่เกินค่าแนะนำในแต่ละวัน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวได้

ลด หรือ งดเครื่องดื่มที่ไม่ดีต่อหัวใจ 

ลดเครื่องดื่มที่มีรสหวานจัด เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง งดแอลกอฮอล์ เลือกดื่มน้ำที่ไม่มีน้ำตาลผสม เช่น น้ำเปล่า น้ำผลไม้คั้นสด น้ำมะนาว กาแฟดำ และควรดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพราะ น้ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบหัวใจ และช่วยดูแลสุขภาพหัวใจได้เป็นอย่างดี 

ออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายเป็นประจำ หรือเลือกทำกิจกรรมที่ใช้พลังงาน เช่น การเดินเร็ว การวิ่ง การเล่นกีฬา การทำงานบ้าน หรือการเล่นโยคะ มีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นและเสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ 

รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม 

ส่วนใหญ่ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือมีน้ำหนักตัวมากเกินไป มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจ และโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจได้ง่ายกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ เนื่องจากไขมันส่วนเกินจะไปขัดขวางการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ปัญหาไขมันอุดตัน จนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ หัวใจเต้นช้า หัวใจเต้นถี่เกินไป หรือระบบการทำงานของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ภาวะหัวใจหยุดเต้น ดังนั้น การรักษาน้ำหนักให้สมส่วนและเหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น ควรรักษาน้ำหนักให้คงที่ งดทานอาหารที่มีไขมันสูง และลดการทานอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง 

ควบคุมความเครียด รักษาสุขภาพใจ 

ควรรู้จักการควบคุมความเครียด และจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม ซึ่งสามารถใช้เทคนิคการจัดการความเครียดได้หลายวิธีด้วยกัน การทำกิจกรรมโปรด หรือหากิจกรรมอื่น ๆ ที่ตนสนใจทำ เช่น การอ่านหนังสือ การฟังเพลง การทำสมาธิ การเล่นโยคะ การปลูกต้น การร่วมกิจกรรมสันทนาการ หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น จะช่วยลดความฟุ้งซ่าน ความกังวล และช่วยควบคุมความเครียดได้ดี 

รักษาโรคเรื้อรัง 

หากป่วยหรือมีภาวะโรคเรื้อรังอื่น ๆ เช่น เบาหวาน ความดัน หรือ มีไขมันในเลือดสูง ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ จึงควรรักษาและดูแลอาการโรคที่เป็นอยู่อย่างตั้งใจ ใส่ใจและทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความอัตราความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจตามมาในอนาคต 

หมั่นตรวจสุขภาพเป็นประจำ หรือ ตรวจสุขภาพประจำปี 

หมั่นตรวจสุขภาพประจำ หรือ ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ และตรวจหาความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดโรคหัวใจในเบื้องต้นก่อนที่จะมีอาการลุกลาม รุนแรง เช่น การตรวจความดันโลหิต ตรวจระดับไขมันในเส้นเลือด การตรวจ Stress test หรือตรวจด้วยระบบ EKG (Electrocardiogram)

Related posts
สูตรอาหารความรู้สุขภาพไลฟ์สไตล์

กินไข่ลวกตอนเช้าดีไหม ไข่ลวกมีประโยชน์อย่างไร พร้อมบอกวิธีทำไข่ลวก

ช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า ๆ…
Read more
ความรู้ข่าวสุขภาพอื่นๆเครื่องมือไลฟ์สไตล์

เบรกแล้วสั่นเกิดจากอะไร ทำยังไงให้พวงมาลัยหายสั่น

การขับขี่รถบนท้องถนนต้องใช้ความระมัดระวัง…
Read more
ความรู้สุขภาพเครื่องมือแฟชั่นไลฟ์สไตล์

เลือกโฟมล้างหน้าอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา

“โฟมล้างหน้า” คือ…
Read more
Newsletter
Become a Trendsetter
Sign up for Davenport’s Daily Digest and get the best of Davenport, tailored for you.