ความรู้ข่าวคนดังไลฟ์สไตล์

โรคชอบเก็บสะสมของคืออะไร และแนวทางแก้ไขภาวะ Hoarding Disorder

Picture of a white cupboard in which the clutter

คนส่วนใหญ่มักจะมีของรักของหวง หรือเป็นนักสะสม ชื่นชอบในการเก็บสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่ก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่มักจะเก็บของทุกสิ่งเอาไว้ จะทิ้งอะไรก็เสียดาย ไม่ว่าของนั้นจะใช้ได้หรือไม่ก็ตาม เพราะคิดว่าอาจได้ใช้ในอนาคต ซึ่งอาการแบบนี้ เรียกว่า  Hoarding Disorder คือ “โรคชอบเก็บของ” นั่นเอง ซึ่งจะต่างจากนักสะสม หรือผู้ที่เก็บของไว้ใช้งานปกติทั่วไป

โรคชอบเก็บของคืออะไร 

Hoarding Disorder หรือ โรคเก็บของ คือ อาการที่ชอบเก็บสะสมของไว้ทุกอย่าง ไม่สามารถตัดใจทิ้งได้ เพราะคิดว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องใช้ ่ทำให้ของที่เก็บมากเกินไป ล้นพื้นที่บ้าน ไม่มีที่จะเดิน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตปกติได้ ไม่ว่าจะเป็นอันตรายที่เกิดจากอุบัติเหตุ ข้าวของหล่นใส่ เดินสะดุด หกล้มเพราะสิ่งกีดขวาง บ้านรก ห้องสกปรก รายล้อมไปด้วยฝุ่นละออง จนก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วย หรือเป็นโรคภูมิแพ้ได้ 

Hoarding Disorder ได้ถูกจำแนกเป็นโรคทางจิตเวช DSM 5 หรือ Diagnostic and Statistical Manual of Mental disorders fifth edition เมื่อปี พ.ศ.2556 โดยจะเริ่มมีอาการเสียดายของตั้งแต่วัยหนุ่มสาว และเมื่ออายุมากขึ้นอาการโรคไม่ชอบทิ้งของจะทวีความรุนแรงขึ้น ปริมาณของที่เก็บก็เพิ่มจำนวนขึ้นจนก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาในที่สุด 

นักสะสมกับโรคชอบเก็บของต่างกันอย่างไร 

ความแตกต่างระหว่างนักสะสมกับโรคเก็บของ สามารถแยกออกจากกันได้ไม่ยาก นักสะสมจะมีเป้าหมายในสิ่งที่จะเก็บ มีวิธีการเก็บรักษาดูแลสิ่งของ และเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย รู้สึกภูมิใจในสิ่งที่เก็บจนมักจะนำออกมาอวดคนรอบข้างอยู่เสมอ ส่วนผู้ที่เป็นโรคชอบเก็บสะสมของ หรือ Hoarding Disorder เก็บของทุกสิ่งไว้หมด โดยไม่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นของที่จำเป็นหรือไม่จำเป็น ขอเก็บเอาไว้ก่อน เก็บจนรกบ้าน จนอาจกลายนักสะสมขยะ หรือบางคนก็เรียกว่า “โรคบ้านรก” 

สาเหตุของโรคชอบเก็บสะสมของเกิดจากอะไร 

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของโรคชอบเก็บของได้แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่าอาจเกิดได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น

  • พันธุกรรม เช่น พ่อแม่หรือคนในครอบครัวชอบเก็บสะสมของ อาจทำให้ติดพฤติกรรมได้
  • มีความวิตกกังวล
  • มีภาวะสูญเสียรุนแรง 
  • มีอาการผิดปกติทางบุคลิกภาพ 
  • ชอบย้ำคิดย้ำทำ หรือ ภาวะ OCD (Obsessive-Compulsive Disorder)
  • มีความผิดปกติทางสมอง เช่น สมองได้รับบาดเจ็บ 
  • ป่วยโรคซึมเศร้า (Depression)
  • ป่วยทางโรคจิตเภท (Schizophrenia)
  • โรคสมาธิสั้น (ADHD) 
  • โรคทางพันธุกรรม เช่น กลุ่มอาการพราเดอร์ วิลลี่ (PWS) 
  • การใช้สารเสพติด
  • โรคชรา 

อาการของโรคชอบเก็บของ 

อาการของผู้มีภาวะ Hoarding Disorder หรือ โรคชอบเก็บสะสมของ อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีหลายอาการในคนเดียวกัน เช่น 

  • เก็บสิ่งของสะสมไว้จำนวนมากในบริเวณที่อยู่อาศัย หรือที่ทำงาน 
  • เก็บของที่มีค่าและไม่มีค่า เช่น เสื้อผ้า รูปภาพ คลิปวิดีโอ หนังสือ ใบเสร็จรับเงิน จดหมาย ใบปลิว ถุงพลาสติก หนังสือพิมพ์ รวมไปถึงไฟล์งาน หรือข้อความแชทในมือถือ 
  • คิดว่าของทุกชิ้นมีความสำคัญ ต้องเก็บไว้ เพราะอาจได้ หรือไม่มีสิ่งใดทดแทนได้ 
  • รู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ท่ามกลางสิ่งของที่เก็บ
  • ไม่อยากทิ้งของ และตัดใจให้คนอื่นไม่ได้ 
  • มีสิ่งของมากเกินไปจนหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอ 
  • ไม่พอใจหรือไม่สบายใจเมื่อคนอื่นนำของที่เก็บไปทิ้ง
  • ไม่อยากพบผู้คน ชอบเก็บตัว มีภาวะซึมเศร้า 
  • ใช้ชีวิตในบ้านลำบาก หรือใช้ประโยชน์พื้นที่ของบ้านไม่ได้ เช่น ห้องนอน ห้องครัว หรือห้องน้ำ เพราะทุกพื้นที่ถูกใช้เป็นที่วางของ 
  • เกิดปัญหาสุขภาพ เพราะอยู่ท่ามกลางฝุ่น เชื้อโรค และสิ่งสกปรกต่าง ๆ รวมไปถึงแมลงและสัตว์มีพิษต่าง ๆ ที่อาจเข้ามายึดเป็นแหล่งอาศัย เนื่องจากทำความสะอาดลำบาก 
  • มักเกิดอุบัติเหตุ หกล้ม หรือข้าวของหล่นใส่เป็นประจำ 
  • มีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนอื่น เช่น ทะเลาะกับคนในครอบครัว คนที่อาศัยด้วยกัน เพื่อนบ้าน หรือคนในที่ทำงาน จนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน 

แนวทางการรักษาโรคชอบเก็บสะสมของ 

ผู้ที่มีอาการ Hoarding Disorder ส่วนใหญ๋จะไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรค เพราะไม่รู้ตัวว่ามีภาวะของโรคชอบเก็บของ นอกจากจะมีอาการของโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรควิตกกังวล โรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น ดังนั้น จึงควรคอยเช็กตัวเอง หรืออาศัยการสังเกตของคนใกล้ชิด เพื่อพาไปพบแพทย์ให้ได้รับตรวจและรักษา แต่สำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรง หรือแค่ชอบเก็บของโดยไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หรือหาทางแก้ไขในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อช่วยให้อาการชอบเก็บสะสมของดีขึ้น หรือปรับสภาพความเป็นอยู่ให้ห่างไกลจากเชื้อโรค ฝุ่นละออง ลดความเสี่ยงต่ออาการเจ็บป่วย และอันตรายจากอุบัติเหตุ เช่น 

  • บริจาค เช่น ของที่ไม่ได้ใช้แล้ว หรือคิดว่าไม่มีโอกาสได้ใช้ ส่งต่อให้คนอื่น
  • ขายเป็นสินค้ามือสอง โดยกำหนดสิ่งของที่จะขาย เช่น เสื้อผ้าที่ไม่ได้ใส่นานกว่า 6 เดือน รองเท้าที่ไม่ได้ใส่นานเกิน 1 ปี หนังสือที่ไม่ได้อ่านนานเกิน 6 เดือน เป็นต้น 
  • ทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ หรือต้องเก็บสะสมเพิ่มขึ้น เช่น เดินเล่น ออกกำลังกาย เล่นกับสัตว์เลี้ยง เล่นโยคะ สวดมนต์ นั่งสมาธิ เป็นต้น 
  • ยกเลิกการสมัคสมาชิกแพลตฟอร์มต่าง ๆ รวมไปถึงอีเมลที่มักมีการแนะนำสินค้า รายการโปรโมชัน ลดราคา และทยอยลบอีเมลที่ไม่จำเป็นออก 
  • พูดคุยกับคนในครอบครัวหรือคนที่สนิท เพื่อลดความเครียด ให้รู้สึกผ่อนคลาย 
  • ถ่ายรูปบ้านทั้งก่อนและหลังจากจัดบ้าน ด้วยการกำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง และทำให้รู้ว่าได้กำจัดสิ่งของที่ไม่จำเป็นออกไปได้เท่าไรแล้ว 
  • ให้รางวัลตัวเองจากการที่สามารถตัดใจทิ้งสิ่งของต่าง ๆ ได้ เช่น การดูซีรีย์ที่ชอบ การไปร้านอาหารที่ตัวเองชอบ หรือออกไปเที่ยวกับเพื่อน 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าในบางรายอาจจะมีอาการรุนแรง ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แต่การชอบเก็บสะสมของในบางคนก็ไม่ได้ส่งผลรุนแรงต่อการดำเนินชีวิตมากนัก แต่ควรจัดเก็บให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หรือ คุณสามารถเช่าห้องเก็บของได้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากอุบัติเหตุหกล้มจากสิ่งกีดขวาง หรือข้าวของหล่นใส่ และยังเป็นการรักษาสุขอนามัยที่ดี บ้านสะอาด ห้องไม่รก ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นได้ 

Related posts
สูตรอาหารความรู้สุขภาพไลฟ์สไตล์

กินไข่ลวกตอนเช้าดีไหม ไข่ลวกมีประโยชน์อย่างไร พร้อมบอกวิธีทำไข่ลวก

ช่วงเวลาเร่งรีบในตอนเช้า ๆ…
Read more
ความรู้ข่าวสุขภาพอื่นๆเครื่องมือไลฟ์สไตล์

เบรกแล้วสั่นเกิดจากอะไร ทำยังไงให้พวงมาลัยหายสั่น

การขับขี่รถบนท้องถนนต้องใช้ความระมัดระวัง…
Read more
ความรู้สุขภาพเครื่องมือแฟชั่นไลฟ์สไตล์

เลือกโฟมล้างหน้าอย่างไรให้เหมาะกับสภาพผิวของเรา

“โฟมล้างหน้า” คือ…
Read more
Newsletter
Become a Trendsetter
Sign up for Davenport’s Daily Digest and get the best of Davenport, tailored for you.